ทำไมถึงอยากให้มีคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากในโรงพยาบาลรัฐของประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้?
ได้มาเปิดหูเปิดตาพูดคุยกับหมอหลายคนในยุโรปเรื่องของการรักษาภาวะมีบุตรยาก พบว่า พบว่า พบว่า
หลายประเทศจ่ายให้คนที่ต้องการมีลูกมารักษาได้ฟรี
ถึงแม้บางทีจะมีข้อจำกัดบ้าง เช่น ทำฟรี 3 ครั้ง 6 ครั้ง อายุต้องน้อยหน่อยถึงจะรักษาได้ฟรี
แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นถึงว่ารัฐเห็นความสำคัญของการมีลูก
ย้อนมามองดูประเทศกำลังพัฒนาแห่งหนึ่งที่ประกาศตัวเป็น Medical hub
แน่นวลว่าหมอประเทศนี้มีความรู้ความสามารถสูง เทคโนโลยีพร้อม มีต่างชาติหลั่งไหลเข้ามารักษาด้วย
แต่ แต่ แต่ ความพร้อมเหล่านั้นกลับอยู่ในภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่
เพราะอะไรขึ้นถึงเป็นอย่างนั้น
ต้องบอกว่าการสนับสนุนของภาครัฐมักจะไปลงกับ
โรคหรือภาวะที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วน โรคที่ทำให้เสียชีวิต โรคที่ทำให้เกิดความเสื่อม
ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ(สาเหตุการตายอันดับ 1) โรคมะเร็ง การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
ช่วงหลังๆยิ่งบูมกับภาวะสังคมผู้สูงอายุ
ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น
แต่
เรากำลังทุ่มกำลังทั้งหมดไปกับการรักษาความเสื่อม สู้กับธรรมชาติที่กำลังเสื่อมถอย
ทำไม เราไม่ทุ่มกำลังไปกับการสร้างทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดในโลก
“ทรัพยากรมนุษย์”
บางคนอาจจะแย้งว่าเด็กยังไม่เกิดจะรู้ได้อย่างไรว่าจะสร้าง productivity ได้ขนาดไหน
แต่แน่นอนว่าในครอบครัวที่อยากมีลูกจนต้องได้มาทำการรักษา การเลี้ยงดูใส่ใจ อยากให้เด็กคนนั้นเป็นคนดี เป็นคนเก่ง
ยกตัวอย่าง Israel ประเทศที่แห้งแล้ง ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของเค้าคือ “คน”
ลูกสองคนแรก สามารถรักษาฟรีได้(แม่ต้องอายุน้อยกว่า 45 ปี)
ย้อนมามองดูประเทศกำลังพัฒนาแห่งหนึ่งที่ประกาศตัวเป็น Medical hub อีกครั้ง
เราจะทำอย่างไรดี
คน เงิน ของ ในภาครัฐเพื่อให้การรักษาอยู่ในระดับที่ประชาชนเข้าถึงได้(ไม่ต้องถึงกับฟรีก็ได้)
- คน…….บุคลากรสาขานี้(หมอ พยาบาล นักวิทย์) เป็นหนึ่งในสาขามนุษย์ทองคำ(ขาดแคลน และมีค่า)
ในเขตสุขภาพที่ 6(หาจังหวัดกันเองนาจา EEC 3 จังหวัดก็อยู่ในนี้) มีหมออยู่ภาครัฐ 2 คน(ประชากรกี่ล้าน???)
- เงิน…….เมื่องบส่วนกลางมีก้อนเดียว เราต้องปันไปให้โรคร้ายแรง โรคความเสื่อม
ทำอย่างไรจะปันมาให้โรคการสร้างได้บ้าง
- ของ…….ก็มาพร้อมกับเงิน ซึ่งก็ให้ย้อนกลับไปดูข้อ 2
เราจะทำอย่างไรดี
To be continue………….