ฝากครรภ์ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร
ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ คำถามที่ตามมาก็คือ ต้องไปฝากครรภ์เมื่อไหร่ ฝากครรภ์ที่ไหนดี โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน ฝากครรภ์ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ฝากครรภ์ครั้งแรกหมอตรวจอะไรบ้าง ไปฝากครรภ์ ถามอะไรคุณหมอดี เราไปหาคำตอบกันเลย
ฝากครรภ์ที่ไหนดี
ถ้าจะถามว่า ฝากครรภ์ที่ไหนที่ดีที่สุด แนะนำว่าให้คุณแม่ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลที่ใกล้และสะดวกที่สุด อาจจะเป็นโรงพยาบาลที่ใกล้บ้าน หรือใกล้ที่ทำงาน เพราะถ้าหากว่ามีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น จะได้ไปโรงพยาบาลได้สะดวกและรวดเร็วที่สุด และหากเป็นสถานพยาบาลที่คุณแม่มีประวัติการรักษาโรคประจำตัวมาก่อนยิ่งดีใหญ่ เพราะคุณหมอจะมีประวัติว่าคุณแม่เคยเป็นโรคอะไร ใช้ยาอะไร และจะมีผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ ส่วนคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนแล้วอาจจะฝากครรภ์กับคุณหมอสูติที่คุ้นเคยก็ได้ครับ
ฝากครรภ์ โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนดี
สำหรับการฝากครรภ์นั้น คุณแม่จะเลือกโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละท่าน แต่โดยรวมแล้วขีดความสามารถของโรงพยาบาลรัฐกับเอกชนก็ไม่ได้ต่างกันมากเท่าใดครับ
แต่สิ่งที่จะแตกต่างกันบ้างก็คือ การฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐอาจทำให้คุณแม่ต้องรอตรวจนานกว่าปกติ เนื่องจากมีผู้ไปรับบริการเป็นจำนวนมาก คุณหมอที่ตรวจก็อาจจะผลัดเปลี่ยนกันไป ไม่ใช่หมอคุณคนเดิม แต่ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะครับ เพราะประวัติการตรวจรักษาในแต่ละครั้งได้ถูกจดบันทึกไว้อย่างละเอียดแล้ว ส่วนข้อดีของการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐก็คือ จะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงมากนัก
สำหรับบางคุณแม่ที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย การไปตรวจหรือฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเอกชนใกล้บ้านก็เป็นทางเลือกที่ดี สามารถพบกับคุณหมอคนเดิมทุกครั้ง เพียงแต่จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งคุณแม่ก็ต้องเลือกระหว่างการเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย หรือจะประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจจะต้องใช้เวลารอคิวนานหน่อย เพื่อไปตรวจหรือไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐ
ฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี
ทันทีที่รู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ คุณแม่ควรไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด อย่าปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเป็นอันขาด เพราะถ้าคุณแม่เกิดมีโรคแทรกซ้อนขึ้นมาในระหว่างนี้ก็อาจจะสายเกินแก้ จนอาจถึงขั้นสูญเสียลูกในท้องได้นะครับ
ฝากครรภ์ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
- บัตรประชาชน สำหรับทำประวัติที่โรงพยาบาล
- ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา การคลอดลูก โรคประจำตัว
- ข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
ฝากครรภ์ครั้งแรกหมอตรวจอะไรบ้าง
เมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรก คุณหมอจะซักประวัติคุณแม่ เช่น
หลังจากซักประวัติคุณหมอจะทำการตรวจร่างกาย ดังนี้
การตรวจนี้โรงพยาบาลบางแห่งอาจตรวจให้ในครั้งแรก แล้วนัดไปตรวจท้อง รวมถึงดูผลตรวจเลือดและปัสสาวะอีกครั้งใน 1-2 สัปดาห์ บางแห่งก็ตรวจท้องก่อน แล้วจึงเจาะเลือดและตรวจปัสสาวะ โดยจะนัดฟังผลใน 1-2 สัปดาห์ เช่นกัน
สมุดฝากครรภ์
หลังจากที่คุณหมอทำการซักประวัติ และตรวจร่างกายของคุณแม่อย่างละเอียดแล้ว ผลการตรวจก็จะถูกบันทึกลงในสมุดฝากครรภ์ หรือใบฝากครรภ์ ซึ่งคุณแม่ควรนำบัตรนี้ติดตัวไปด้วยเสมอ เมื่อต้องเดินทางไปไหนมาไหน แล้วเกิดภาวะฉุกเฉิน คุณหมอจะได้ดูแลรักษาได้ถูกต้อง ตามข้อมูลที่บันทึกไว้ในสมุดฝากครรภ์
การนัดตรวจครรภ์ครั้งถัดไป
หลังจากที่ฝากครรภ์ครั้งแรกแล้ว คุณหมอก็จะนัดมาตรวจครรภ์ครั้งถัดไป ซึ่งจะนัดถี่ หรือห่างมากน้อยเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับระยะครรภ์ และโรค หรือความผิดปกติที่ตรวจพบ ซึ่งโดยปกติแล้วในช่วง 7 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะนัดให้คุณแม่มาตรวจครรภ์เดือนละ 1 ครั้ง และเมื่อย่างเข้าสู่เดือนที่ 8 คุณหมอก็จะนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้นเป็นทุก ๆ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และจะเพิ่มเป็นทุก ๆ 1 สัปดาห์ในช่วงเดือนที่ 9 หรือช่วง 1 เดือนก่อนคลอด
แต่สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด ซึ่งในระหว่างการตั้งครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า คุณหมอจะนัดให้มาตรวจถี่ขึ้นกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ตามปกติ
และหากคุณแม่ไม่สามารถไปตรวจตามที่หมอนัดได้ ก็ควรรีบไปพบคุณหมอในวันที่ว่างโดยทันที อย่ารอให้เลยวันนัดเป็นเดือน ๆ เพราะในระหว่างนี้ หากคุณแม่เกิดมีโรคแทรกซ้อนขึ้นมาก็อาจจะสายเกินแก้ จนเป็นอันตรายต่อลูกในท้องได้ครับ
ที่มา theasianparent
****************************
ความเชี่ยวชาญอื่นๆของ นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์
ให้คำปรึกษา และรักษา
- ฉีดสีประเมินท่อนำไข่(HSG)
- ตรวจน้ำเชื้อ(Semen analysis)
- เจาะฮอร์โมนสตรี เช่น AMH, FSH, LH, E2, P4
- ประเมินเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ด้วย MRI
- ปรับพฤติกรรม และให้ยาในคนไข้ PCOS ที่มีภาวะอ้วน
- แก้หมัน(เปิดหน้าท้อง,ผ่านกล้อง)
- ฉีดเชื้อ(IUI)
- เด็กหลอดแก้ว(IVF, IVF-ICSI)(ให้คำปรึกษา)
- ผ่าตัดเนื้องอกในโพรงมดลูกผ่านกล้อง
- ผ่าตัดเนืองอกกล้ามเนื้อมดลูกผ่ากล้อง
- ผ่าตัดเลาะพังผืดผ่านกล้อง
- ผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่ด้วย CO2 laser
- ให้คำปรึกษาการรักษาเนื้องอกมดลูกด้วย HIIFU, Microwave, RF